วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Lab 2 : การใช้งานโปรแกรม Package Tracer

ใช้โปรโตคอล ICMP
ICMP คืออะไร
     ICMP (Internet Control Massage Protocol) เป็นโปรโตคอลควบคุมและรายงานความผิดพลาดระหว่าง host server กับ gateway บนอินเตอร์เน็ต ICMP ใช้ตารางข้อมูลของ Internet Protocol แต่การสร้างข้อความทำโดยซอฟต์แวร์ของ IP และไม่ปรากฏโดยตรงกับผู้ใช้
      Internet Control Message Protocol (ICMP) คือ โพรโทคอล TCP/IP ที่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายสามารถใช้ข้อมูลข้อผิดพลาดและสถานะร่วม กัน ICMP มักใช้สำหรับการแก้ไขปัญหา เช่น เครื่องมือ Ping จะใช้ ICMP สำหรับการแก้ไขปัญหา TCP/IP
เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า ICMP ให้เปิด Windows Firewall with Advanced Security

คำสั่ง  Ping  คือ  คำสั่งที่ใช้ในการทดสอบสถานะการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายว่าขณะนั้นคุณสามารถเชื่อมต่อกับเป้าหมายปลายทางได้หรือไม่ คำว่า “ เป้าหมายปลายทาง “  คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่สามารถกำหนดหมายเลข  IP Address ได้  ,  ชื่อของเครื่องหรืออุปกรณ์ในระบบเครือข่าย  ,  ชื่อของเว็บไซต์  เป็นต้น
 
ผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่ง  Ping
1. ผลลัพธ์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ Reply  from “ หมายความว่า เราสามารถติดต่อกับเป้าหมายปลายทางได้
2. ผลลัพธ์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ Request  timed  out  “ หมายความว่า เราไม่สามารถติดต่อกับเป้าหมายปลายทาง  อาจจะมีปัญหาทางฝั่งปลายทางหรือทางฝั่งคุณเอง   ซึ่งปัญหาอาจจะเกิดจากอุปกรณ์หรือเกิดความหนาแน่นของการสื่อสารในระบบเครือข่ายเพราะมีคนใช้งานมาก
และเราอาจจะได้ผลลัพธ์ ทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 สลับกันไปมา ดังนั้น  หากเราเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไม่ได้หรือเข้าเว็บไซต์ไม่ได้ให้คุณใช้คำสั่ง  ping   ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ “ Reply  from “  แสดงว่ามีปัญหาให้เราแจ้งข้อความ  error  ให้ผู้ดูแลระบบของหน่วยงานทราบเพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา  เพราะข้อความ  error  จะบอกให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยซึ่งบางทีผู้ดูแลระบบเครือข่ายจะเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี
เมื่อเราใช้คำสั่งนี้แล้ว จะมีค่าเวลาที่ packet สามารถอยู่บนระบบได้ เรียกว่า “TTL” หากเราทำการทดสอบระบบเครือข่ายด้วยคำสั่ง ping แล้วขึ้นข้อความ TTL Expired in Transit ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายจะมีค่า TTL ประจำตัวของแต่ละอุปกรณ์
ค่า TTL: Time To Live คือเวลาที่ packet สามารถอยู่บนระบบได้ เพื่อไม่ให้มี packet ตกค้างอยู่บนระบบ โดยให้หมดอายุไปเอง ถ้า Packet ไม่สามารถเดินทางถึงปลายทาง

 


Tracert เป็นคำสั่งที่สามารถแสดงให้เห็นถึงเส้นทาง พร้อมข้อมูลรายละเอียดของอุปกรณ์ค้นหาเส้นทาง(router) ที่ packet ถูกส่งผ่าน จากต้นทาง(เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สั่งคำสั่งนี้) ไปยังปลายทางที่ถูกระบุไว้ คำสั่งนี้ใช้ใน command line ซึ่งติดตั้งมาให้แล้วในระบบปฏิบัติการ Windows (ถ้าเป็นระบบปฎิบัติการ Linux จะเทียบเท่ากับคำสั่ง traceroute)

รูปแบบคำสั่งคือ “tracert ” เช่น “tracert www.etda.or.th” หรือ “tracert nrca.go.th” หรือ “tracert 200.0.0.1”

คำสั่ง tracert ใช้โปรโตคอล ICMP ซึ่งทำงานอยู่ใน Layer3 ของ OSI model (The Open Systems Interconnection model) อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากค่า TTL(Time To Live) ซึ่งเป็นฟิวส์หนึ่งใน IP packet ที่เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ packet ในระบบเครือข่ายมีวันหมดอายุ

การทำงาน TTL เกิดขึ้นเมื่อ IP packet ส่งผ่านไปยัง router ใด ๆ ในเส้นทางเพื่อไปยังปลายทาง router นั้น ๆ จะลดค่า TTL ของ packet ลง 1 เมื่อค่า TTL ลดลงเหลือ 0 router ดังกล่าวจะ drop packet ทิ้ง ด้วยวิธีการนี้จึงทำให้ไม่มี packet ตกค้างในระบบ network  

Tracert อาศัยการทำงานของ TTL โดยจะส่ง ICMP echo request packet ไปยัง host ที่ต้องการ ด้วยการเซตค่า TTL=1 ในครั้งแรก TTL=2 ในครั้งถัดมา จากนั้นเซต TTL=3 และจะเพิ่มค่า TTL ไปเรื่อย ๆ (ค่าสูงสุดของ TTL คือ 255) จนกระทั่งปลายทางเป็น IP ของ host ที่ต้องการ “TTL expired in transit” packet จะถูกส่งกลับมาจาก router ที่ทำการลดค่า TTL ลงเหลือ 0 ในที่สุดเมื่อ ICMP echo request packet ถูกส่งไปถึง host ปลายทาง host จะตอบกลับมาด้วย ICMP echo reply packet เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการ tracert หนึ่งครั้ง

ดังนั้นโปรแกรม tracert จึงสามารถแสดงรายละเอียดเป็น IP หรือ ชื่อของ router (ในลักษณะ domain เช่น g1-1-router1.etda.or.th) และแสดงระยะเวลา round trip time

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

OSI Model 7 Layer

OSI Model

OSI Model เป็น medel มาตรฐานในการสื่อสารซึ่งมีวัตถุประสงค์ ใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างระบบ 2 ระบบ ระบบจะเปิดการติดต่อสื่อสารในเค้าโครงสำหรับออกแบบ

ระบบเครื่อข่าย จะอนุญาตให้สื่อสารข้ามทุกรูปแบบของระบบคอมพิวเตอร์แยกเป็น 7 ชั้นแต่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นรูปแบบมาตรฐาน ISO

OSI Model ประกอบด้วย 7 Layer

1.Physical Layer

2.Data link Layer

3.Network Layer

4.Transport Layer

5.Sesion Layer

6.Presentation Layer

7.Application Layer






ทั้ง 7 สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1 Network support layer ได้แก่ Layer 1, 2, 3
กลุ่มที่ 2 Link ระหว่าง Network support layer กับ user support layer ได้แก่ layer 4
กลุ่มที่ 3 User support layer ได้แก่ layer 5, 6, 7


Functions of The Layers

Physical Layer
ชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair(STP), Unshield Twisted Pair(UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

-Physical ติดต่อระหว่างผู้รับ
-การส่งต่อข้อมูล
-สื่อกลาง & สัญญาณ
-เครื่องมือการติดต่อ




Data link layer

ชั้นนี้จัดเตรียมข้อมูลที่จะส่งผ่านไปบนสื่อตัวกลาง

-ควบคุมการส่งข้อมูลบน Physical link
-ดูที่อยู่บนเครือข่าย Physical
-Framing
-ควบคุมให้เท่ากัน
-ควบคุมการผิดพลาด (Error)
-Synchronization ให้ผู้ส่งกับผู้รับใช้เวลาเดียวกันในส่งข้อมูล
-ควบคุมการใช้สายสื่อสาร

Network layer

ชั้นที่สามจะจัดการการติดต่อสื่อสารข้ามเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะเป็นการทำงานติดต่อข้ามเน็ตเวิร์คแทนชั้นอื่นๆที่อยู่ข้างบน

-รับผิดชอบในการหาเส้นทางให้ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง
-Switching & Routing
-หาที่อยู่อย่างมีเหตุผล
-ไม่ต้องใช้ Technology ชั้นสูง
-ไม่ต้องใช้สายโดยตรง

Transport layer

ชั้นนี้ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end)โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port)ของเครื่องต้นทางและปลายทาง

-ควบคุมการส่งข้อมูลจาก ต้นทางไปยังปลายทางข้อมูลใน Layer นี้เรียกว่า " package " เหมือนกัน ใช้      port address
-Segmentation & Reassembly
-ส่งไปเป็นลำดับ Segment Number
-ควบคุมการติดต่อ
-Flow Control
-Eroor Control
-คุณภาพการบริการ (QoS)

Session layer

ชั้นที่ห้านี้ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ(Web browser)สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง

-ทำงานเกี่ยวกับการควบคุม dialog เช่น การเชื่อมต่อ บำรุงรักษา และ ปรับการรับ และส่งข้อมูลให้มีค่า  ตรงกัน
-ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด Synchronizationเปิดและปิดการสนทนา ควบคุมดูแลระหว่างการสนทนา
-Grouping คือ ข้อมูลประเภทเดียวกันจะจับกลุ่มไว้ใน Group เดียวกัน
-Recovery คือ การกู้กลับข้อมูล



Presentation layer

ชั้นที่หกเป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ,เอกสาร,ไฟล์วีดีโอ]

-เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระหว่าง 2 ระบบ
-Data Fromats และ Encoding
-การบีบอัดข้อมูล (Data Compression)
-Encryption - การเข้ารหัส Compression - การบีบ และอัดข้อมูล
-Security - ควบคุมการ log in ด้วย Code, password


Application layer

ชั้นที่เจ็ดเป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดและเป็นชั้นที่ทำงานส่งและรับข้อมูลโดยตรงกับผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ซอร์ฟแวร์โปรแกรม ต่างๆที่อาศัยอยู่บนเลเยอร์นี้ เช่น DNS,HTTP,Browser เป็นต้น

-เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยในการบริการ เช่น e-mail , ควบคุมการส่งข้อมูล , การแบ่งข้อมูล
 เป็นต้นยอมให้ user, software ใช้ข้อมูลส่วนนี้เตรียม user interface และ Support service ต่าง ๆ
 เช่น E-mail
-ทำ Network virtual Terminal ยอมให้ User ใช้งานระยะไกลได้
-File transfer , access และ Management (FTAM)
-Mail services
-Directory service คือการให้บริการด้าน Data Base


ตัวอย่างของ Protocols
Physical

-WAN: T1,E1
-LAN: 10/100 Base X
-Interface: RS-232, X.21

Datalink

-WAN: HDLC , PPP
-LAN: Ethernet , Token Ring

Network

-IPX, IP , X.25

Transport

-TCP, UDP ,SPX NetBUEI

Session

-NetBIOS

Presentation

-X.216 / 266

Application

-HTTP , FTP, SNMP

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย สายเคเบิลเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง ข้อมูลจะต้องผ่านไปยังคอมพิวเตอร์รอบ ๆ วงแหวน และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพื่อไปยังสถานีที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ส่งไป จะไปทิศทางเดียวกัน หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเสีย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องอื่น ๆ ได้ ทำให้ระบบหยุดชะงัก

ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน 
ข้อดี
1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้น ลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กลุ่ม 2 รายชื่อสมาชิก

นาย จิรทีปต์  ไร่นากิจ  55046680121 (อั้ม)
นาย ประทีป  พรหมเสน  55046680135 (อุ่ย)
นาย อนันต์  มูลแก้ว  55046680148 (เจ)
นาย วรายุทธ  ธนาเกียรติมั่น  55046680149 (ไกด์)
นาย ฐิติพันธุ์  สุขกล้า  55046680158 (บอล)
นาย พรนารายณ์  แผลงศร  55046680168 (แบงค์)